Hello everyone All are welcome here.

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัยทางการศึกษา
Research summary
Development plans, experience, integrated learning nature around the tree's two kindergarten.
ชื่อเรื่อง :  การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ 
             ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก  ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า    :  นางรำไพ แก่นภักดี
อาจารย์ที่ปรึกษา  : อาจารย์ ดร.นิราศ จันทรจิตร
มหาวิทยาลัย   : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2550


        การจัดประสบการณ์ในระดับชั้นอนุบาล 2 มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้ง 4ด้านพร้อมที่จะเขียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูส่วนมากยังขาดหลักการในการจัดประสบการณ์ โดยเฉพาะการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการครบทุกด้าน
       การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัวหน่วยต้นไม้ที่รักชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านผำ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วยต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 5 แผ่น แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียน จำนวน 5 แผ่น ชุดละ 40 บาท แบบประเมินความพร้อมทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกจั้งแต่ 0.21 ถึง 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 ใช้เวลาในการทดลอง 10 ครั้ง ครั้งละ 6 กิจกรรม

ความหมายของการศึกษาค้นคว้า

         1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
         2.เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วยต้นไม้ ชั้นอนุบาลปีที่

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
         1.ประชากร ได้แก่เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านผำ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 38 คน
         2.ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ เดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ.2549
         3.เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วยต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 มีทั้งหมด 10 แผน ดังนี้
                       แผนที่ 1 เรื่อง ต้นไม้มีชื่อ
                       แผนที่  2 เรื่อง ส่วนประกอบของต้นไม้
                       แผนที่  3 เรื่อง การเจริญเติบโตของต้นไม้
                       แผนที่  4 เรื่อง ประโยชน์ของต้นไม้
                       แผนที่  5 เรื่องการดูแลรักษาต้นไม้
         4.วิธีการศึกษาค้นคว้า เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงทดลอง ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าดำเนินการ
ศึกษาค้นคว้าตัวเองทุกขั้นตอน โดยใช้แบบแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อน และสอบหลัง

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า

        1.ได้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาล 2 ที่มีประสิทธิภาพ
        2.ได้แนวทางสำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยในการพัฒนาการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เพื่อนำไปใช้ในการการจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
  1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
  2.เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาลปีที่ 2

สรุปผล
  1.แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.07/91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
  2.ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ สาระการเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ต้นไม้ที่รัก ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เท่ากับ 0.8615 หมายความว่า นักเรียนมีความเข้าใจในการเรียนร้อยละ 86.15


ภาคผนวก (ตัวอย่างกิจกรรมและการประเมินผล)


















สรุปบทความ
ชื่อเรื่อง   เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษาผ่านโครงงานปฐมวัย
แหล่งที่มา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)



          จากบทความนี้กระแสความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย รวดเร็วผนวกกับความเปลี่ยนแปลงในสังคมและสภาพแวดล้อมทำให้ผู้คนต้องการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้อย่าง มีคุณภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ได้ส่งผลต่อกระบวนการด้านการศึกษา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยน ไปตามกระแสสังคม
          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กำลังผลักดัน การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
ล่าสุด สสวท. ได้จัดงานประชุมวิชาการ สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทยและการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ซึ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักการแก้ปัญหาและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศในอนาคต
           “แนวคิดในเรื่องสะเต็มศึกษานั้น เป็นกระบวน การเชิงระบบแบบวิทยาศาสตร์ ที่นำมาเชื่อมโยงในกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงานหรือชิ้นงาน จากการคิดค้น การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ในระบบโรงเรียนไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้” 
         สำหรับวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็กเพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก 5 ข้อ คือ 
1.) ครูต้องเน้นการบูรณาการ
2.) ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
3.) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
4.) ท้าทายความคิดของผู้เรียน
5.) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
           การบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้เข้ากับชีวิตประจำวันจะทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นความสำคัญและเข้ามาเรียนในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้นซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดกำลังคนในด้านวิทยาศาสตร์ และทำให้คนทั่วไปมีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น
          ในงานประชุมวิชาการนี้ มีครูปฐมวัย มานำเสนอผลงานวิชาการและสาธิตการจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับปฐมวัยตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกิจกรรมบูรณาการและแบบโครงงาน (Project based learning) ผลงานวิชาการที่น่าสนใจภายในงาน เช่น กิจกรรมเส้นสายสัมพันธ์ โครงงานกล้วยผง โครงงานเรื่องขวดเก่า มาเล่าใหม่ และโครงงานปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู เป็นต้น
         ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทยและการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ เป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักวิชาการ และบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย 





สรุปสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
แหล่งที่มา Youtueb: Pongskorn Saipetch

         เป็นคลิปวิดีโอที่กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กๆด้วยของเล่นและการทดลองจากหลักวิทยาศาสตร์ ของเล่นและการทดลองในคลิปวิดีโอนี้จะเป็นของเล่นที่หาอุปกรณ์ได้ง่ายๆ เด็กๆจะได้มีโอกาสทำเล่นเองมากขึ้น
ตัวอย่างที่ 1 การทดลองเรื่องแรงลอยตัว สร้างนักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
อุปกรณ์
1         .      หลอด
2         .      เทปกาว
3         .      ดินน้ำมัน
ขั้นตอนการทำ
1         .      ตัดหลอดยาวประมาณ 3 นิ้ว พับแบบไม่ต้องแบ่งครึ่งแล้วติดเทปกาว
2         .      ตัดหลอดปลายยาวเป็นสองแฉก แล้วพับลงหนึ่งแฉก
3         .      นำดินน้ำมันมาถ่วงไว้บริเวณแฉกที่ไม่ได้พับ (เพิ่ม/ลดดินน้ำมันให้หลอดลอยอยู่ปริ่มน้ำ)
4         .      เอาหลอดใส่ขวดน้ำและปิดฝาให้แน่น เสร็จเรียบร้อยพร้อมเล่นค่ะ
หลักวิทยาศาสตร์ 
          หลอดลอยได้เพราะมีอากาศถูกกักไว้ แรงลอยตัวเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกอากาศแทนที่ เมื่อเราบีบขวด ความดันภายในขวดเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาตรอากาศเล็กลง แรงลอยตัวจึงละลงตามปริมาตรอากาศหลอดจึงจม เมื่อเราคลายมือ ความดันในขวดก็จะลดลง เมื่อความดันอากาศลดลง ปริมาตรอากาศก็เพิ่มขึ้น แรงลอยตัวก็เพิ่มขึ้นตามปริมาตรอากาศลอดจึงลอย

ตัวอย่างที่ 2 การทดลองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของอากาศและความดันของอากาศ

ตัวอย่างที่ 3 สร้างมอเตอร์ไฟฟ้าแบบง่ายๆ

ตัวอย่างที่ 4 กลหลอกพ่อแม่ด้วยแรงตึงผิวของน้ำ

ตัวอย่างที่ 5 ถุงพลาสติกมหัศจรรย์


          ***ความสนุกและความน่าสนใจยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีตัวอย่างการตั้งคำถามในห้องเรียนให้เด็กๆ ได้คิดและเสนอความ เรื่อง ความดันยกของถ้าเพื่อนๆคนไหนสนใจคลิปวิดีโอกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก สามารถสอบถามหรือคลิกด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ***







วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 16
วันจันทร์ ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
กิจกรรมวันนี้ สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และ STEM
หน่วยส้ม การถนอมอาหาร (วันพุธ) STEM
ขั้นนำ
1.   ครูให้เด็กเล่นเกมภาพตัดต่อส้มเชื่อมและส้มสด


ขั้นสอน
2.    ครูใช้คำถามถามเด็กๆ เราจะทำอย่างไรที่จะเก็บส้มให้อยู่ได้นานๆ
3.    ครูนำส้มสดและส้มที่ผ่านการถนอมอาหารมาให้เด็กดู
4.    ครูนำส้มเชื่อมและส้มสดมาให้เด็กๆ ดู ดมกลิ่น และชิมรสชาติ






5.    ครูถามเด็กว่า เด็กๆชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากัน เดียวคุณครูจะแจกสติ๊กเกอร์ให้เด็กๆ นำสติ๊กเกอร์ไปติดที่ตาราง ถ้าเด็กๆชอบส้มแบบไหนก็นำสติ๊กเกอร์ไปติด
6.    ครูและเด็กช่วยกันนับจำนวนสติ๊กเกอร์ทั้งหมด และต่อไปให้ครูและเด็กๆนับสติ๊กเกอร์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
7.    ครูสรุปผลว่าเด็กชอบส้มสดหรือส้มเชื่อมมากกว่ากันและถามเหตุผลที่ชอบและไม่ชอบเพราะอะไร

8.    ครูใช้คำถาม เด็กๆคิดว่าเราจะเอาเม็ดส้มมาทำอะไรได้บ้าง
เรามีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้
นอกจากนี้เรามีเครื่องมืออะไรที่เราจะใช้แทนการเป่าและดีดได้บ้าง
9.      ครูค้นหาเครื่องมือที่จะมาใช้แทนการเป่าและดีด โดนค้นหาวิดีโอที่เป็นสื่อ คือ วิดีโอของเล่นขวดบ้าพลัง เปิดให้เด็กๆดูอุปกรณ์และขั้นตอนการทำ
10. ครูทบทวนอุปกรณ์ และวิธีการทำของเล่น ขวดบ้าพลัง และสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู





11. จากนั้นเด็กๆแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมารับอุปกรณ์ เด็กๆลงมือประดิษฐ์ของเล่นขวดบ้างพลัง (อุปกรณ์ ขวด : จะมีขนาดแตกต่างกันออกไป)
12. จากนั้นครูใช้คำถามถามเด็กว่า เราจะมีวิธีการเล่นขวดบ้าพลังอย่างไรได้บ้าง
เด็กๆคิดว่าถ้าเราลองนำขวดบ้าพลังมาใช้ จะเกิดอะไรขึ้น
13. ครูให้เด็กๆทดลองเล่นขวดบ้าพลัง เมื่อเด็กได้ทดลองเล่นแล้ว ครูใช้คำถามถามเด็กว่า เด็กๆรู้ไหมว่าเม็ดส้มเคลื่อนที่ได้อย่างไรจากนั้นครูจึงเฉลยหลักการวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้

เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้เพราะเราดึงลูกโป่งทำให้อากาศเข้าไปรวมตัวกันด้านในลูกโป่งและขวด แล้วเมื่อเราปล่อยลูกโป่งออกด้วยความเร็ว ทำให้อากาศที่อยู่ในลูกโป่งและขวดวิ่งออกมาอย่างรวดเร็วจึงดันให้เม็ดส้มนั้นเคลื่อนที่ไปได้นั่นเอง

14. ครูให้เด็กลองหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลัง ว่าแบบไหนมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้เด็กทุกคนแข่งขันกันโดยใช้ขวดบ้าพลังของตนเองเป็นเครื่องมือในการทำให้ส้มเคลื่อนที่
15. ครูนำผลการหาประสิทธิภาพของขวดบ้าพลังให้เด็กดู ปรากฏว่าขวดบ้าพลังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ได้ไกลที่สุด



ขั้นสรุป
16. ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่าเพราะอะไรขวดบ้างพลังที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้เม็ดส้มเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด
การบูรณาการ
1. วิทยาศาสตร์
2. คณิตศาสตร์
3. เทคโนโลยี
4. วิศวกรรมศาสตร์
5. สังคม
6. ภาษา

ตัวอย่างการสอนของเพื่อนกลุ่มอื่น
หน่วยไก่ เรื่อง สายพันธุ์ (วันจันทร์)


หน่วยนม เรื่องลักษณะ (วันอังคาร)



หน่วยข้าว น้ำหมักมหัศจรรย์ (วันพุธ)


หน่วยกล้วย เรื่องประโยชน์และข้อควรระวัง (วันพฤหัสบดี)

หน่วยน้ำ เรื่องการทำน้ำอัญชัน (cooking) (วันศุกร์)










การประยุกต์ใช้
        หลังจากการเขียนแผนการสอนและได้ทดลองสอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการสอน มีทักษะการสอนมากขึ้น มีความเข้าใจในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก แต่ละขั้นตอนในการสอนนั้นล้วนมีความหมาย เพราะทุกๆขั้นตอนนั้นเราสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กโดยใช้คำถามให้เด็กคิด ในการทำกิจกรรมครูควรให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย และการสอนควรบูรณาการกับวิชาอื่นๆให้ได้ความหลากหลาย และได้รับประโยชน์สูงสุด
ประเมิน        
ประเมินตนเอง
        วันนี้ตื่นเต้นมากค่ะ เพราะวันนี้ต้องสอนเกี่ยวกับหน่วยตนเอง แต่ก็ตั้งใจทำเต็มที่ ตั้งใจสอน ช่วยเพื่อนในกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้สอนในวันนี้
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจสอน และมีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี เพื่อนแต่ละกลุ่มค่อยช่วยเหลือกันและกันดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        อาจารย์คอยให้คำปรึกษากับทุกๆกลุ่มและชี้แนะเพิ่มเติมในบางขั้นตอนที่บางกลุ่มอาจลืมหรือสอนผิด อาจารย์พยายามอธิบายเพื่อให้เราเข้าใจอย่างละเอียด