Hello everyone All are welcome here.

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 12
วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
        ในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอ Mind map ของแต่ละกลุ่มที่ผ่านการแก้ไขแล้ว ในการนำเสนอก็อาจจะมีเนื้อหาบางส่วนผิดอยู่ อาจารย์ก็ให้คำแนะนำและให้กลับมาแก้ไข/เพิ่มเติมเนื้อหา
เรื่องที่เพื่อนๆในเซคเลือกทำ
1. ส้ม

2. ไก่


3. ข้าว


4. น้ำ


5. กล้วย


6. นม

        ในแต่ละเรื่องต้องยึดตามมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง เพื่อที่คุณครูจะได้รู้ว่าต้องสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
        ในการทดลองหรือทำกิจกรรมทุกครั้งควรให้เด็กบันทึกโดยการเขียน วาด และนำเสนอผลงาน เพราะมันเป็นการสื่อสารว่าเด็กเข้าใจหรือไม่

กรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย มี 8 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

·       สอนเรื่องไก่ (หรืออะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต)
·       สอนเรื่องส้ม กล้วย (ถ้าเป็นสิ่งไม่มีชีวิตแต่มันมีความสอดคล้องกับมาตรฐานที่ 1.1 ได้ก็สามารถนำมาสอนได้เช่นกัน)
·       การปลูกถั่วงอก เป็นการทดลองที่นิยมมานานเพราะได้ใช้การสังเกต และเก็บกระบวนการเพื่อให้เด็กเรียนรู้ได้ง่ายและเห็นการเจริญเติบโตที่เร็ว
มาตรฐานที่ 1.2
·       อะไรที่มีเกณฑ์เรื่องนั้นก็สามารถนำมาสอนได้ เช่น เรื่อง น้ำ (เพราะมีการแบ่งประเภทของน้ำ เช่น น้ำเค็ม น้ำจืด)

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 

·       สอนเรื่องน้ำ
มาตรฐานที่ 2.2
·       ประโยชน์ของน้ำ

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

·       สอนเรื่องน้ำ นม
·       น้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต เช่น ส้ม ไก่ กล้วย ข้าว
มาตรฐานที่ 3.1
·       การถนอมอาหาร เช่น กล้วย ถ้ามันแห้งมันจะอยู่ได้นาน
มาตรฐานที่ 3.2
·       การทดลองต่างๆ และการทำอาหาร

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

·       สอนเรื่องนม ส้ม
มาตรฐานที่ 4.2
·       นำส้มใส่ตะกร้า แล้วเอาล้อมาติดที่ตะกร้าก็สามารถเคลื่อนที่ได้

สาระที่ 5 พลังงาน

·       สอนเรื่องข้าว

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

·       สอนเรื่องฤดูกาล

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
·       สอนเรื่องดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวต่างๆ

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การนำไปประยุกต์ใช้
        ทำให้มีความเข้าใจในการเลือกเรื่องที่จะสอนมากขึ้น และจับประเด็นได้ว่าเรื่องที่จะสอนนั้นสอดคล้องกับมาตรฐานใด การทำ Mind map ทำให้แยกองค์ประกอบของเรื่องเข้าใจเรื่องนั้นๆได้ง่ายขึ้น และทำให้เราสามารถจับประเด็นได้ว่าเราจะต้องสอนอะไรเด็กบ้าง

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
        วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมากค่ะ เพราะอาจารย์บอกว่าเนื้อหาในวันนี้ค่อนข้างจะยาก อยากให้ตั้งใจฟัง พยายามทำความเข้าใจเรื่องกรอบมาตรฐาน
ประเมินเพื่อน 
         เพื่อนตั้งใจเรียนค่ะวันนี้ มีการโต้ตอบข้อคำถามกับอาจารย์ในเรื่องที่อาจารย์ถามและเรื่องที่ไม่เข้าใจ
ประเมินผู้สอน 
        อาจารย์ตั้งใจสอนมากค่ะและอธิบายเนื้อหาชัดเจน โดยจะอธิบายจากเรื่องที่นักศึกษาในเซคนี้ทำขึ้น เพราะจะทำให้นักศึกษาทุกคนเข้าใจเรื่องเหล่านี้อย่างละเอียด

  
บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 11
วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
        นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)
กลุ่มที่ 1 นาฬิกาธรรมชาติ


กลุ่มที่ 2 ลวดเต้นระบำ

กลุ่มที่ 3 วงโคจรของโลก

กลุ่มที่ 4 twin plane

กลุ่มที่ 5 ระบบสุริยจักรวาล

กลุ่มที่ 6 ผีเสื้อเริงระบำ

กลุ่มที่ 7 ลานหรรษา

กลุ่มที่ 8 ไข่มหัศจรรย์

กลุ่มที่ 9 ภาพใต้น้ำ


การประดิษฐ์ของเล่น ภาพใต้น้ำ
อุปกรณ์
1. ถังน้ำ 5 ลิตร 2 ใบ
2. พลาสติกใสหรือถุงใส 1 เมตร
3. เชือก 2 เส้น
4. ภาพที่นำมาสำหรับการสังเกต
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดส่วนบนของถังทั้ง 2 ใบ

2. ตัดช่องสี่เหลี่ยมด้านข้าวของถัง (ช่องใส่ภาพ) ของถังทั้ง 2 ใบ

3. นำพลาสติกใสหรือถุงใสมาหุ้มไว้ด้านบนถัง โดยให้พลาสติกใสหรือถุงใสโค้งลงภายในถังเล็กน้อยเพื่อใส่น้ำ และนำเชือกมามัด เสร็จสมบูรณ์




วิธีการเล่น
        นำน้ำใส่บนถังเพียงถังเดียวอีกถังไม่ต้องใส่น้ำ นำภาพที่เตรียมไว้ใส่เข้าไปข้างในถังและสังเกต/เปรียบเทียบความแตกต่างของภาพที่เห็นค่ะ
หลักวิทยาศาสตร์
การหักเหของแสง
        การมองวัตถุที่อยู่ในน้ำ โดยผู้มองอยู่ในอากาศ แสงจากวัตถุเคลื่อนที่ผ่านน้ำ หักเหสู่อากาศ แล้วเข้าสู่นัยน์ตา เมื่อต่อแนวรังสีหักเหไปตัดกันที่จุดหนึ่ง จุดนี้เป็นตำแหน่งภาพที่ตาเรามองเห็น ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เรามองเห็นภาพวัตถุอยู่ตื้นกว่าวัตถุจริง
        การหักเหของแสง เป็นสมบัติอย่างหนึ่งของแสง โดยปกติแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อเดินทางผ่านวัตถุโปร่งใสชนิดเดียวกัน แต่บางครั้งการเดินทางของแสงผ่านวัตถุ 2 ชนิด เช่น แสงเดินทางผ่านอากาศแล้วผ่านไปในน้ำ การเดินทางของแสงในวัตถุทั้งสองจะเป็นเส้นตรง แต่ไม่อยู่ในแนวเดียวกัน นั่นคือแสงจะเกิดการหักเหไปจากแนวเดิม ตรงรอยต่อระหว่างผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิดนั้น เราเรียกว่า การหักเหของแสง

การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิด STEM
หลักการจัดประสบการณ์
1.หลักการเลือกหัวเรื่อง
1. เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กมีความสนใจ และเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน
2. เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก
2.นำหัวเรื่องมาแตกองค์ความรู้ (อย่างน้อย 5 หัวข้อ)
1. ประเภท/สายพันธุ์
2. ลักษณะ เช่น รูปร่าง ขนาด สี รสชาติ กลิ่น ส่วนประกอบ
3. การดูแลรักษา/การดำรงชีวิต/การเจริญเติบโต
4. การถนอมอาหาร/การแปรูป
5. ประโยชน์ (ต่อตนเอง/เชิงพาณิชย์)
6. ข้อควรระวัง/โทษ
3.เครื่องมือในการเรียนรู้มี 2 อย่างคือ
1. คณิตศาสตร์
2. ภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน)
4.เรื่องจะต้องสัมพันธ์กับกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย มี 8 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5.วิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. การตั้งขอบข่ายปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน
3. การทดลอง โดยใช้การสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ สรุปผล
6.ต้องคำนึงถึงเจตคติของนักวิทยาศาสตร์
1. ชอบสังเกต อยากรู้อยากเห็น
2. มีความเพียรพยายาม
3. รอบคอบ มีระเบียบ
4. มีความซื่อสัตย์
5. มีเหตุผล
6. ใจกว้าง








การนำไปประยุกต์ใช้
        ในกิจกรรมวันนี้ทำให้เข้าใจวิธการเขียน Mind map มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้จริง ส่วนของเล่นที่ประดิษฐ์ เป็นการประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้และที่สำคัญของเล่นทุกชิ้นวันนี้มีความน่าสนใจ ทำให้เราได้เห็นของเล่นที่แตกต่างกันออกไปจากของกลุ่มเรา

การประเมิน
ประเมินตนเอง 
        วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานกลุ่ม ช่วยกันคิดเรื่องหรือหน่วยที่จะทำและตั้งใจฟังกลุ่มอื่นนำเสนองาน
ประเมินเพื่อน 
        วันนี้เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถาม ช่วยกันทำงานกลุ่ม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอทั้งกลุ่มของตนเอง และกลุ่มของคนอื่น
ประเมินผู้สอน 

        อาจารย์สอนละเอียดและเข้าใจง่าย บอกเทคนิคการทำ Mind map ว่าควรเขียนอย่างไรให้ดูเข้าใจได้ง่ายและสวยงาม บอกรายละเอียดที่แต่ละกลุ่มทำไม่ละเอียด