Hello everyone All are welcome here.

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 14
วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


*** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาเซค 102     
ต้องเตรียมอุปกรณ์และสถานที่/ซ้อมการทำกิจกรรมวิชาเคลื่อนไหวและจังหวะ เรื่อง ผีเสื้อ เพื่อนำเสนอให้กับคณะครูจากประเทศออสเตรีย ในวันพุธ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ***








วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 13
วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
        นำเสนอคลิปวิดีโอ สื่อการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ แต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อโดยมีอาจารย์และเพื่อนๆให้คำชมเชยและให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้
ของเล่นพลังปริศนา (กลุ่มตัวเอง)
·      ควรจะมีซับภาษาไทยหรือ ภาษาอังกฤษ
·      ในการบอกอุปกรณ์ควรจะมีตัวหนังสือและจำนวนชิ้นกำกับอยู่ด้วย เช่น ฝาขวดน้ำ 1 ฝา สายยาง 1 วา (ไม่ใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการเช่น เมตร เพราะเด็กยังไม่เข้าใจ เราต้องใช้คำง่ายๆกับเด็กก่อน เช่น คืบ วา ช่วงแขน)
·      ควรจะมีผังกราฟิกในช่วงท้ายของวิดีโอเพื่อเป็นการทบทวนให้เด็กเห็นเป็นกระบวนการอีก 1 รอบ
·      ถ้าเป็นสื่อที่ให้ดูแค่การประดิษฐ์ ขั้นตอนการทำ เราไม่ควรทำการทดลองให้เด็กเห็น เพราะตอนสอนเด็กจะได้เกิดการคิดว่าจะทำอย่างไรกับของชิ้นนี้ ตามการตั้งประเด็นปัญหาของคุณครู
·      ใจความสำคัญคือตอนที่ครูสอน ครูต้องตั้งประเด็นปัญหาก่อน แล้วให้เด็กทดลอง โดยใช้คำถามกระตุ้นเช่น มันเคลื่อนที่ได้เพราะอะไร
·      ควรใส่บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มด้วย ว่าแต่ละคนทำหน้าที่ใด



ของเล่นขวดบ้าพลัง (กลุ่มชื่นนภา)
·      ควรหา Location ที่สวยงาม เพื่อเพิ่มสีสันให้กับวิดีโอ
·      บอกจำนวนชิ้นของอุปกรณ์ เช่น ลูกโป่ง 1 ลูก ขวดน้ำ 1 ขวด
·      ควรบอกชื่อสมาชิกและบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน
·      ควรให้เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำ เพราะในคลิปวิดีโอมีแค่คนเดียว
·      ควรมีผังกราฟิกในช่วงท้ายของวิดีโอเพื่อเป็นการทบทวน และอาจจะพูดทิ้งท้ายไว้ว่า ให้เด็กๆลองทำตามขั้นตอนนะคะ



ของเล่นรถแกนหลอดด้าย (กลุ่มภาวิดา)
·      ควรมีตัวหนังสือบอกอุปกรณ์ เช่น กานธูปยาว 1 ก้าน สั้น 1 ก้าน
·      ควรบอกขั้นตอนการทำอาจจะขึ้นเป็นตัวหนังสือ
·      ควรมีผังกราฟิกในช่วงท้ายของวิดีโอเพื่อเป็นการทบทวน
·      ถ้าเป็นสื่อที่ให้ดูแค่การประดิษฐ์ วิธีการทำก็ไม่ต้องบอกถึงวิธีการเล่น


ของเล่นลูกข่างนักสืบ (กลุ่มปฐมพร)
·      ควรมีซับภาษาไทยเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องภาษาด้วย
·      มีตัวเลขบอกจำนวนของอุปกรณ์
·      ขั้นตอนการทำก็เขียนเป็นผังกราฟิก เป็นกระบวนการเพื่อความเข้าใจ ให้ไว้ตอนท้ายของคลิปวิดีโอ





#การสอนที่เรียนรู้ผ่านสื่อ เราใช้สื่อเพื่อเป็นแนวทางในการสอนเด็กประดิษฐ์ บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของครูคือการที่ครูพูดถึงวิธีการเล่น พูดให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไร นั่นก็คือทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ควรเกิดในห้องเรียน
#แต่ถ้าจะทำวิดีโอสื่อการสอน ในคลิปวิดีโอจะต้องมีการตั้งประเด็นปัญหา เช่น จะทำอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้น แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติ/ทดลองได้เลย

        กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้จับกลุ่มทำ Mind map เกี่ยวกับหน่วยส้มและหน่วยต่างๆตามกลุ่มของตนเอง โดยจะแบ่งออกเป็น 2 แผ่นคือ
·      Mind map การบูรณาการวิชาทั้ง 6 วิชา คือ
1.     คณิตศาสตร์ ----à (มาตรฐาน)
2.     วิทยาศาสตร์ ----à (ทักษะ กระบวนการ มาตรฐาน)
3.     ภาษา ----à (ฟัง พูด อ่าน เขียน)
4.     ศิลปะ (อารมณ์-จิตใจ) ----à (วาดภาพ/ระบายสี ปั้น ฉีก ตัด แปะ ประดิษฐ์ เล่นกับสี พิมพ์ภาพ)
5.     สังคม ----à (ช่วยเหลือตนเอง เช่น การทำงานเดี่ยว,ช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การทำงานคู่ งานกลุ่ม)
6.     สุขศึกษา/พลศึกษา ----à (การเคลื่อนไหว การเล่นกลางแจ้ง)
·      Mind map การจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลัก คือ
1.     กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.     กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.     กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4.     กิจกรรมเสรี
5.     กิจกรรมกลางแจ้ง
6.     กิจกรรมเกมการศึกษา
#กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีกรอบกิจกรรมดังนี้
1.     เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
2.     เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
3.     เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
4.     เคลื่อนไหวตามจินตนาการ
5.     เคลื่อนไหวตามบรรยาย
6.     เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ (เด็กต้องจำว่ามุมไหนคือมุมอะไร เช่น หลังห้องคือมุมส้มเขียวหวาน หน้าห้องคือมุมส้มจี๊ด คำสั่ง ให้เด็กเดินไปที่มุมส้มเขียวหวาน เป็นต้น)
7.     เคลื่อนไหวประกอบเพลง
#เคลื่อนไหวตามคำสั่งและเคลื่อนไหวตามข้อตกลง จะอยู่ในทุกๆกรอบกิจกรรม
#กิจกรรมศิลปะและกิจกรรมเสรีต้องอยู่ติดกันเพราะกิจกรรมศิลปะต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรม เด็กแต่ละคนใช้เวลาในการทำไม่เท่ากันเพราะสาเหตุนี้จึงต้องนำกิจกรรมเสรีมาต่อกิจกรรมศิลปะเพื่อให้เด็กที่เสร็จก่อนไม่ต้องนั่งรอเพื่อนที่ยังไม่เสร็จ เด็กคนไหนเสร็จก่อนก็ไปเล่นกิจกรรมเสรีได้เลย
#เนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ กิจกรรมสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ คือ การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เป้าหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน






การประยุกต์ใช้
         นำเทคนิคต่างๆมาใช้ในการเขียนแผนการสอนของตนเอง การสอนต้องบูรณาการกับมาตรฐานของแต่ละรายวิชาได้ เข้าใจการจัดกิจกรรม 6 กิจกรรมหลักมากขึ้น ว่ากิจกรรมใดสมควรจัดก่อน-หลัง
       
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
         วันนี้ตั้งใจเรียน จดบันทึกความรู้สำคัญๆ เวลาที่อาจารย์ถามคำถามก็จะพยายามตอบแต่บางครั้งอาจจะตอบผิดหรือไม่มีหลักการ อาจารย์ก็จะอธิบายให้เพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
        ในวันนี้เพื่อนนำเสนอวิดีโอ งานแต่ละกลุ่มออกมาใช้ได้ เพื่อนๆต่างชมเชยกันและให้ข้อเสนอแนะต่อกัน ช่วยกันทำงานกลุ่ม ระดมความคิดกันเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        อาจารย์สอนละเอียดมาก วันนี้เรียนเนื้อหาแน่น อาจารย์พยายามอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ สอนเพิ่มเติมในเรื่องที่นักศึกษาไม่เข้าใจหรืออาจจะจำผิดมา อาจารย์คอยย้ำในเรื่องที่สำคัญๆให้นักศึกษา