Hello everyone All are welcome here.

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 3
วันอังคาร ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
  • อยากรู้อยากเห็น
  • ชอบเลียนแบบ
  • ชอบถาม ทำไม
  • รู้สึกพอใจกับบุคคลที่ตามใจ
  • ช่วงเวลาความสนใจ 8-10 นาที
  • สนใจนิทาน เรื่องราวต่างๆ
  •  ช่วยเหลือตนเองได้ในเรื่องง่ายๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้
การทดลองของพาฟลอฟ


การทดลองของวัตสัน



ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
           การลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
           ความรู้ถูกสร้างหรือถูกหล่อหลอมโดยประสบการณ์และผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง

ทฤษฎีของกีเซล
           ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
            จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหว กิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม
            จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลง ฟังนิทาน

ทฤษฎีของฟรอยด์
            ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา ใจและควรจัดกิจกรรมจากง่ายไปสู่ยาก ในการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านควรจัดให้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลิกภาพ

ทฤษฎีของอิริคสัน
            จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู และจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบสำเร็จ พอใจต่อสภาพแวดล้อมทั้งเพื่อนและครู

ทฤษฎีของเพียเจท์
            จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ให้เด็กได้ฝึกทักษะ การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ และควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสเลือก/ตัดสินใจ

ทฤษฎีของดิวอี้
            จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบสำเร็จ ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู

ทฤษฎีของสกินเนอร์
            การให้แรงเสริม (ทางบวก) เช่น คำชมเชชหรือรางวัล

ทฤษฎีของเปสตาลอสซี่
            จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลาและให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์

ทฤษฎีของเฟรอเบล
            จัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

ทฤษฎีของเอลคายน์
            จัดห้องเรียนให้เด็กได้มีโอกาสที่จะได้เลือกเล่นด้วยตนเอง
  
การประยุกต์ใช้
                     ทำให้เราเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้นว่าการเรียนรู้ของเด็กที่ได้จากการคิดและการปฏิบัติจริงโดยที่เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กนั้นจะเป็นการพัฒนาทักษะการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนกสิ่งต่างๆ เด็กรู้จักการแก้ปัญหา ในการพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เราต้องเน้นให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง เข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และในการจัดกิจกรรมเราต้องยึดเด็กเป็นสำคัญและมีการประสานสัมพันธ์กับครอบครัวหรือสังคม
ประเมิน
ประเมินตนเอง
           เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน พยายามตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและสรุปเนื้อหาที่สำคัญๆ
ประเมินเพื่อน
           เพื่อนมีความตั้งใจเรียน ไม่คุยเสียงดัง และตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
           อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ฝึกให้นักศึกษาคิดรวบยอด รู้จักสรุปองค์ความรู้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น