Hello everyone All are welcome here.

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
           ฝึกคัดลายมือแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม ซึ่งการฝึกคัดลายมือสำหรับครูปฐมวัยถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเราต้องเขียนหนังสือให้เด็กๆดู จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเขียนให้ถูกต้องและสวยงามเป็นระเบียบ เพราะเด็กจะเรียนรู้ผ่านสิ่งที่เราทำให้ดู ให้เห็น



           ทำสื่อวิทยาศาสตร์ อาจารย์จะมีอุปกรณ์ให้เพียง 2 ชิ้นได้แก่
1.      คลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว
2.      การดาษแข็ง 1 แผ่น



แบ่งกลุ่มทั้งหมด 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำสื่อเพื่อใช้สอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กดังนี้
1.      กลุ่ม การเกิดฝน
2.      กลุ่ม ลม
3.      กลุ่ม พลังงานลม
4.      กลุ่ม แรงต้านอากาศ
5.      กลุ่ม ฤดูกาล
6.      กลุ่ม ลมบก ลมทะเล  *แก้ไขเป็นเรื่อง แรงดันอากาศ (กลุ่มตัวเอง)

เรื่องลมบก ลมทะเล


ขั้นนำ
1.      ร้องเพลงเก็บเด็ก
2.      ใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กเกี่ยวกับ เด็กๆเคยเห็นอะไรในทะเลบ้าง
ขั้นสอน
1.      ให้ความรู้เกี่ยวกับลมบก ลมทะเล
2.      สอนเด็กพับเรือ
3.      ให้เด็กทำกิจกรรม โดยครูจะกำหนดวงกลม 2 วง (มีวงลมบกกับวงลมทะเล) เมื่อได้ยินคุณครูพูดชื่อลมบกหรือว่าลมทะเลให้เด็กๆวิ่งเข้าไปอยู่ในวงนั้น โดยสมมติว่าใช้เรือที่เด็กๆพับเป็นยานพาหนะพาไปที่วงกลมนั้นๆ
ขั้นสรุป
1.      ทบทวนความรู้เรื่องลมบกลมทะเล
           จากการนำเสนอสื่อ ลมบก ลมทะเล อาจารย์มีข้อชี้แนะว่ามันยังไกลตัวเด็กเกินไป ควรเลือกเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก หรือเรื่องที่ไม่มีผลกระทบต่อเด็ก โดยกลุ่มของเราได้แก้ไขจากเรื่องเดิมเป็นเรื่อง แรงดันอากาศ > พับเรือ และทำกระดาษที่ใช้สำหรับเป่า 2 แบบ (แบบม้วนยาวกับแบบกรวย) เพื่อให้เด็กได้ทดลองว่าแบบไหนที่สามารถเป่าเรือไปได้ไกลกว่ากัน
หลักการทางวิทยาศาสตร์ ความดันของอากาศและแรงดันของอากาศที่ทำให้วัตถุนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้






ของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้


ชื่อของเล่น ถ่วงสมดุลด้วยเหรียญ The Self-Balancing Clown
อุปกรณ์
1.      กระดาษลัง
2.      ไม้ไอติม
3.      เหรียญขนาดเท่ากัน 2 เหรียญ (เพิ่มความท้าทายในการเล่นก็อาจจะมีเหรียญที่หลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เพื่อฝึกทักษะให้เด็กได้ลองหาเหรียญที่ถ่วงสมดุลกันให้ได้)
4.      กาว
5.      กรรไกร
6.      ปากกา



ขั้นตอนการทำ
1.      วาดรูปตัวการ์ตูนแบบยกแขน 2 ข้าง หรือกลับหัว ชูแขน 2 ข้าง เท่าๆกัน ตัดตามรอยที่วาดไว้
2.      ติดที่ปลายมือ ด้วยเหรียญ ข้างละเหรียญ ติดกาวให้แน่น
3.      ตัดไม้ไอติมปลายแหลม เป็นหัว (สังเกตจากรูปด้านล่าง) ใช้นิ้วถ่วง จะสังเกตได้ว่า มือทั้งสองข้าง จะถ่วงพอดี  
วิธีการเล่น
            นำส่วนหัวของตัวการ์ตูนมาคว่ำไว้ที่ปลายนิ้ว ถ้าไม่ตัวการ์ตูนไม่ตกแสดงว่าแขนของตัวการ์ตูนที่ถ่วงด้วยเหรียญทั้ง 2 ข้างมีความสมดุลกัน แต่ถ้าตัวการ์ตูนตกจากปลายนิ้วแสดงว่าแขนทั้ง 2 ข้างนั้นไม่สมดุลกัน อาจเป็นเพราะน้ำหนักเหรียญไม่เท่ากัน หรืออีกประเด็นก็คือ แขนของตัวการ์ตูนอาจจะกางไม่ได้องศาหรือสั้นเกินไป
หลักการทางวิทยาศาสตร์                                                                          
สภาพสมดุล (Equilibrium) คือ สมดุลที่เกิดขึ้นในขณะที่ วัตถุอยู่ในสภาพนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ถ้า แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์ 
สภาพสมดุลอาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.
 สมดุลสถิต (Static Equilibrium) เป็นสมดุลของวัตถุขณะอยู่นิ่ง
2.
 สมดุลจลน์ (Kinetic Equilibrium) เป็นสมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่เป็นหลัก

การประยุกต์ใช้
                     นำกิจกรรมที่ทำในวันนี้ไปปรับให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอนหรือใช้ทำกิจกรรมกับเด็ก และการทำกิจกรรมก็ต้องสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กด้วย

ประเมิน
ประเมินตนเอง
ทำความเข้าใจเนื้อหาสำคัญ ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆนำเสนองานแบบสร้างสรรค์และหลากหลายดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตั้งใจสอน สอดแรกความรู้ให้เสมอ ทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น