บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 6
วันอังคาร
ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
ฝึกคัดลายมือแบบตัวหนังสือหัวกลมตัวเหลี่ยม
หลักการที่ใช้ในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
1.
ควรประดิษฐ์ของเล่นให้มีความหลากหลาย และน่าสนใจ
2.
ของเล่นสามารถยืดหยุ่นหรือเล่นได้หลายรูปแบบ และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละชิ้น
3.
ของเล่นที่ดีต้องทำให้เด็กได้รู้จักสังเกต สนุก
4.
สามารถบูรณาการได้หลากหลายสาระวิชาเช่นเดียวกับการบูรณาการกับการศึกษาแบบ
STEM (สะเต็ม) โดยมีสาระวิชา
ดังนี้
เมื่อเด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่มีความรู้สอดแทรกหลากหลายวิชา
เด็กจะเกิดทักษะการคิดที่มีความสร้างสรรค์ 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ความคิดริเริ่ม
ขั้นที่ 2 ความคิดคล่องแคล่ว
ขั้นที่ 3 ความคิดยืดหยุ่น
ขั้นที่ 4 ความคิดละเอียดลออ
ขั้นที่ 5 ความคิดสร้างสรรค์
กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 8 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดูวิดีโอ เรื่อง ความลับของแสง
ความรู้ที่ได้จากวิดีโอเรื่อง ความลับของแสง
1.
แสงเป็นคลื่น แสงสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 300000 กิโลเมตร/ชั่วโมง
2.
แสงเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้
3.
เมื่อมีแสงมากระทบกับวัตถุจึงสะท้อนเข้ามาที่ดวงตาของเรา
นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ
4.
การสะท้อนของแสงทำให้เกิดมุมตกกระทบคือมุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก และมุมสะท้อนคือมุมที่แสงสะท้อนทำกับเส้นตั้งฉากกับกระจก กฎของการสะท้อนกล่าวว่า “เมื่อเกิดการสะท้อนแสงทุกครั้งมุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อนเสมอ”
5.
การหักเหของแสง
เกิดจากแสงจะเดินทางผ่านตัวกลางที่แตกต่างกันและเกิดการหักเหตามมุมของตัวกลางนั้นๆ
คุณสมบัติของวัตถุมี 3 แบบ ดังนี้
1.
วัตถุโปร่งแสง แสงสามารถทะลุผ่านได้บางส่วน
เห็นแต่ไม่ชัดเจน
2.
วัตถุโปร่งใส แสงสามารถทะลุผ่านได้ เห็นชัดเจน
3.
วัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถทะลุผ่านได้ ดูดกลืนแสง เช่น หิน
เหล็ก กระดาษหนาๆ ผ้า
กล้องเพอริสโคป สามารถทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูงได้
โดยใช้หลักการสะท้อนแสง คือ แสงจากวัตถุจะทะลุผ่านกระจกด้านบนลงไปสู่แผ่นกระจกด้านล่าง
ทำให้เรามองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านบนหรือที่สูงได้
สื่อวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องแสง
ภาพติดตา คือ ภาพที่ทำให้เกิดความรู้สึกในการเห็นภาพซ้อนชั่วขณะ และสมองเกิดการจำและเห็นวัตถุเคลื่อนที่
การบ้าน 2 ชิ้น
1.ภาพเคลื่อนไหว
2.ภาพติดตา
ภาพติดตา คือ ภาพที่ทำให้เกิดความรู้สึกในการเห็นภาพซ้อนชั่วขณะ และสมองเกิดการจำและเห็นวัตถุเคลื่อนที่
การบ้าน 2 ชิ้น
1.ภาพเคลื่อนไหว
2.ภาพติดตา
การประยุกต์ใช้
เข้าใจการสอน บูรณาการกับการศึกษาแบบ STEM (สะเต็ม)
และเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาว่าเด็กต้องเรียนอะไรบ้างในวิชาวิทยาศาสตร์
ได้เห็นสื่อที่หลากหลายสามารถนำมาใช้สอนในเรื่องของแสงได้หลายชิ้น
ประเมิน
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน ได้รับความรู้เยอะ
จดบันทึกเนื้อหาที่เรียน ลองเล่นสื่อที่อาจารย์นำมา
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
และหาคำตอบในเรื่องต่างๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เตรียมการสอนมาดี
ให้ข้อชี้แนะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น