Hello everyone All are welcome here.

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559
เนื้อหาที่เรียน
1.   คัดพยัญชนะไทย ก-ฮ แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม 
           โดยวันนี้อาจารย์จะกำหนดเวลาเพื่อให้นักศึกษาฝึกเขียนด้วยความรวดเร็ว ไม่ชักช้า เพราะวันนี้มีหลากหลายกิจกรรมที่ต้องเรียน


2.   ทำภาพสามมิติ โดยอาจารย์มีอุปกรณ์ให้ดังนี้
          - กระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น
          - ปากกาเมจิก 3 แท่ง (คละสี)
           ให้เอามือของตนเองวางบนกระดาษ A4 แล้ววาดด้วยปากกาเมจิกแท่งที่ 1 จากนั้นให้นำปากกาเมจิกแท่งที่2 มาวาดเป็นเส้นตรงพอในบริเวณมือให้เป็นเส้นโค้ง ออกนอกบริเวณมือก็เป็นเส้นตรงเช่นเดิม ทำเส้นแบบนี้ไปจนถึงปลายนิ้วจากภาพธรรมดาจะกลายเป็นภาพสามมิติทันที

       จากกิจกรรมนี้เราสามารถนำมาใช้กับเด็กปฐมวัยได้ในการทำกิจกรรม จากภาพปกติก็ให้เด็กวาดเส้นลงไปภาพก็จะมีมิติทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่ และเด็กก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย
3.   ส่งงานภาพเคลื่อนไหวและภาพติดตา
          - รวบรวมส่งอาจารย์เพื่อเก็บไว้เป็นสื่อสำหรับใช้จริงได้
          - อาจารย์นำตัวอย่างภาพติดตาที่สามารถใช้สอนในเรื่องอาเซียนมาให้ดู

ข้อเสนอแนะจากอาจารย์คือด้านที่มีแต่สีขาวควรเพิ่มสัญลักษณ์ของอาเซียน (รวงข้าวที่อยู่ตรงกลาง) เข้าไปด้วย




4.   นำเสนอของเล่น (งานเดี่ยว)
      - นรากุลและมาณิศา ของเล่นคือ ลูกยางเปลี่ยนสี เกิดจากแรงหนีจากศูนย์กลาง เวลาหมุนแผ่นซีดีเกิดสเปกตรัมของแสง ของเล่นนี้สามารถนำรูปทรงทางคณิตศาสตร์มาใช้ได้เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากรูปทรงที่หลากหลายแต่เวลาหมุนออกมานั้นมันก็จะเป็นวงกลมเหมือนกันไม่ว่ารูปทรงใด
ความรู้เพิ่มเติมสเปกตรัมของแสง คือ แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม

      - กษมาและศิริวรรณ ของเล่นคือ ลูกยางกระดาษ เกิดจากแรงต้านอากาศและอากาศจะเป็นตัวพยุงปีกไว้
          - ปฐมพร ของเล่นคือ ลมชูชีพ เกิดจากแรงต้านอากาศและแรงพยุง
      - สุรีย์พร อารักษ์ ณัฐณิชา บงกช ภาวิดา วนิดาและเกตุวรินทร์ ทำของเล่นเกี่ยวกับแรงดันอากาศ (อากาศมีตัวตน ต้องการที่อยู่ ตรงไหนที่มีทางไปอากาศจะไป) อากาศมีสถานนะและเปลี่ยนสถานะได้
      - สิริรัตน์ (ตัวเอง) ของเล่นคือ ตุ๊กตาถ่วงสมดุล เกิดจากวัตถุทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากัน ลักษณะคล้ายกันจึงทำให้เกิดความสมดุล
          - กัลปพฤกษ์ ของเล่นคือ ไข่ล้มลุก เกิดจากแรงถ่วงจากจุดศูนย์กลาง
      - ธิดารัตน์ ของเล่นคือ โทรศัพท์ (เชือกฟาง เชือกขาวแดง ลวด) เกิดจากการเดินทางของเสียงผ่านตัวกลาง
          - ไพจิตร ของเล่นคือ รูดหลอดเกิดเสียง เสียงเกิดจากแรงเสียดสี
          - พัชชา ของเล่นคือ กลอง เสียงเกิดจากการกระทบกันของวัตถุ เกิดการสั่นสะเทือน
      - สิริกัลยา ของเล่นคือ พัดมีตุ้งติ้ง เสียงเกิดจากการกระทบกันของวัตถุ โมเมนตัมแรงเหวี่ยง
      - ยุคลธร ของเล่นคือ กีตาร์ เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนด้วยการดึง
      - พรประเสริฐ ของเล่นคือ กลองแบบดึง เสียงเกิดจากการดึง และเสียงที่ได้จะเป็นเสียงก้อง
      - ชื่นนภา ภทรธร ของเล่นคือ รถกระป๋อง การเคลื่อนที่เกิดจากพลังงานสะสมเป็นพลังงานศักย์ เมื่อยางกลับสู่สภาพเดิมจากพลังงานศักย์จะกลายเป็นพลังงานจลน์
          - ธารารัตน์ ของเล่นคือ ธนูจิ๋ว การเคลื่อนที่เกิดจากพลังงานสะสมจากที่เราดึงยาง
      - สุริยาพร ของเล่นคือ บ่อน้ำจากกล่อง เกิดจากการหมุนการเก็บจากจุดศูนย์กลางหรือที่เรียกว่าชักลอก
      - จิราภรณ์ ของเล่นคือ เหวี่ยงวัตถุใส่กรวย เกิดจากการะกะประมาณ โมเมนตัม
      - ศิริพร ของเล่นคือ ขานดีด เกิดจากการสะสมพลังงานและลักษณะของขานที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่วัตถุ
      - พัชภรณ์ ของเล่นคือ น้ำกับน้ำมัน เกิดจากความหนาแน่นและมวลของวัตถุ น้ำมีโมเลกุลมากกว่าจึงอยู่ข้างล่าง น้ำมันมีโมเลกุลน้องกว่าจึงลอยอยู่ด้านบน

      #จากการประดิษฐ์ของเล่นที่เราได้ทำกันนี้ เมื่อเด็กได้เล่นเด็กเกิดการสังเกตซึ่งเป็นทักษะทาง        วิทยาศาสตร์

5.   อาจารย์เตรียมการทดลองมาให้ดู 2 ชิ้น
       - การทดลองน้ำเท่ากัน
       - การทดลองน้ำโดยจะไหลจากสูงลงมาที่ต่ำ



6.   ทำดอกไม้ลอยน้ำ มีวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
       - กระดาษ A4 แบ่ง 4 ส่วน คนละ 1 ส่วน
       - ปากกาเมจิก
ขั้นตอนการทำ
        พับการะดาษที่ได้เป็น 4 ส่วนแล้ววาดรูปดอกไม้ ตัดออกมา และระบายเกสรตรงกลาง เสร็จแล้วพับกลีบดอกไม้เข้ามาตรงเกสรตรงกลางไม่ต้องทับกันจนแน่นมาก จากนั้นนำไปลอยในน้ำและสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ดอกไม้จะค่อยๆบานออกทีละหน่อย
หลักการทางวิทยาศาสตร์ คือ น้ำซึมเข้าเยื่อกระดาษ เพราะกระดาษมีโมเลกุลน้อยกว่าน้ำและสีเมจิกก็จะค่อยๆละลายไปกับน้ำ ถ้าทิ้งกระดาษไว้ในน้ำนานๆ มันจะจมเพราะโมเลกุลของกระดาษหนักกว่าน้ำเลยจม ตัวอย่างเช่น กระดาษทิชชู

      #กระดาษค่อยๆแผ่ออกทีละหน่อย สีค่อยๆซึมอกจนมาชนกันจนกลายไปเป็นสีใหม่ เช่นเดียวกับความรู้ของเด็กได้เรียนรู้หลากหลาย ผสมผสานกันไปจนทำให้เด็กเกิดความรู้ใหม่ๆ










7.   นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม 3 คน)
ชื่อของเล่น ภาพขยายใต้สายน้ำ
อุปกรณ์
      - ถังน้ำขนาด 5 ลิตร 2 ใบ
      - พลาสติกใส
      - วัตถุที่เตรียมไว้สำหรับให้เด็กทดลอง (พร้อมกล่องเก็บวัตถุ)
ขั้นตอนการทำ
1.   ตัดด้านบนของถังน้ำทั้ง 2 ใบออกเพื่อนำพลาสติกใส่ไปติดตรงด้านบนของถังน้ำทั้ง 2ใบ โดยที่พลาสติกไม่ตึงมากให้มีลักษณะย่อนๆ
2.   ตัดเป็นช่องสี่เหลี่ยมด้านล่างของถังทั้งน้ำ 2 ใบเพื่อเป็นช่องที่นำวัตถุเข้าไปวางในถังน้ำ
3.   ประดิษฐ์และตกแต่งถังน้ำให้สวยงาม
4.   เตรียมวัตถุที่ต้องการและนำใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย พร้อมใช้งาน
5.   นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาเรียงไว้ด้วยกันตามมุมที่เหมาะสมกับการทดลอง และสภาพพร้อมใช้งาน
วิธีการเล่น
      ถังใบที่ 1 ให้นำน้ำมาใส่บนพลาสติกใสพอประมาณ ส่วนใบที่ 2 ไม่ต้องใส่น้ำให้เด็กนำวัตถุมาใส่ที่ช่องด้านล่างของทั้ง 2 ถังเพื่อให้เด็กได้สังเกตและเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
หลักการทางวิทยาศาสตร์
      การหักเหของแสง เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห 
       สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก 
       การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า (ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ

การประยุกต์ใช้
        ได้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับการประดิษฐ์ของเล่นในชิ้นต่อไป เข้าใจว่าหลักการทำของเล่นแต่ละชิ้นต้องมีหลักวิธี หลักการ วิธีการ ทำได้หลายๆวิธี และต้องใช้วัสดุที่หลากหลายเพื่อที่เด็กจะได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายด้วยเช่นกัน จนทำให้เด็กต่อยอดเกิดเป็นความรู้ใหม่ๆ

ประเมิน              
ประเมินตนเอง
      วันนี้ฝนตกเป็นอุปสรรคต่อการมาเรียนมากค่ะ เสื้อผ้ารองเท้าเปียกทำให้อับชื้นไม่สบายตัว แต่วันนี้ก็ยังตั้งใจเรียนเหมือนเดิม พยายามตอบคำถามเพื่อให้ตัวเองเข้าใจมากขึ้น เรียนมีความสุขมากค่ะ ชอบกิจกรรมหรือการทดลองที่อาจารย์นำมาให้ดูวันนี้
ประเมินเพื่อน
      เพื่อนตั้งใจเรียน สนุกสนานเวลาทำกิจกรรม เพื่อนๆนำเสนอของเล่นกันได้เข้าใจง่าย รวดเร็วเพราะเตรียมตัวมาดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
      อาจารย์ตั้งใจสอน อธิบายต่อยอดให้ในทุกๆสิ่งที่สามารถนำมาเป็นความรู้ให้นักศึกษาได้เป็นอย่างดีค่ะ ยิ้มแย้มแจ่มใส ชี้แนะในการทำสื่อวิทยาศาสตร์ว่าทำอย่างไรมันถึงจะออกมาสมบูรณ์แบบซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีค่ะ จะได้แก้ไขงาน ก่อนจะลงมือทำของจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น